• คลังบ้าน.com (สินเชื่อธนาคาร) : รวมข้อมูลการสินเชื่อธนาคารเพื่อที่อยู่อาศัย

Compare Listings

7 ขั้นตอน ขายบ้านติดจำนอง

7 ขั้นตอน ขายบ้านติดจำนอง

วันนี้ทีมงานบ้านดีจะมาขอแนะนำ 7 ขั้นตอนในการขายบ้าน ว่าจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไรบ้าง ไม่รอช้า ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

  1. เมื่อได้ลูกค้าที่สนใจซื้อบ้าน ทำการตกลงในเรื่องของ ราคา ค่าใช้จ่าย เมื่อตกลงเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ทำสัญญา “จะซื้อ – จะขาย” และเก็บเงินมัดจำ เพื่อเป็นการยืนยันของทั้ง 2 ฝ่ายว่าจะดำเนินการขั้นตอนต่อไป โดยรายละเอียดในสัญญา ควรระบุรายละเอียดทุกอย่างแบบชัดเจน
  • เรื่องค่าใช้จ่ายการโอนกรรมสิทธิ์
  • ค่ามัดจำ
  • ระยะเวลาในการให้ผู้ซื้อดำเนินการเรื่องการยื่นกู้ธนาคาร หรือกำหนดวันในการโอนกรรมสิทธิ์
  • เลขที่โฉนดที่จะซื้อขายรวมถึงสิ่งปลูกสร้างจะต้องระบุโดยละเอียด



2. ผู้ขายจัดเตรียมเอกสารโฉนด เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปประกอบเอกสารในการทำธุรกรรมเพื่อยื่นกู้

3. หลังจากธนาคารได้รับเรื่องและเอกสารจากผู้ซื้อแล้ว จะทำการนัดเจ้าของบ้านเปิดบ้าน เพื่อทำขั้นตอนการประเมิณราคาบ้าน

4. หากผู้ซื้อ ผ่านการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ผู้ซื้อและธนาคารจะนัดวันผู้ขาย เพื่อไปทำขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ิดิน เจ้าหน้าที่ธนาคารจะนัดให้ผู้ซื้อเข้าไปเซ็นเอกสารยืนยันการกู้ยืมสินเชื่อบ้าน ซึ่งจะมีค่าธรรมอากรแสตมป์ และค่าภาษีอากร

5. เมื่อผู้ซื้อทำการนัดวันโอนกรรมสิทธิ์กับผู้ขายแล้ว ผู้ขายมีหน้าที่ติดต่อธนาคารเจ้าของสินเชื่อเดิม เพื่อแจ้งเรื่องการซื้อขายและปิดยอดหนี้ แจ้งวันโอนกรรมสิทธ์กับทางธนาคารเจ้าของสินเชื่อเดิม เพื่อที่ทางธนาคารจะได้คำนวณยอดหนี้คงเหลือ ขั้นตอนนี้ผู้ขายสามารถแจ้งกับทางธนาคารของผู้ซื้อได้เลยในเรื่องของการตีเช็คว่าตีเช็คให้กับธนาคารเจ้าของสินเชื่อเดิมเท่าไร และเป็นของผู้ขายเท่าไร (กรณีราคาขายมีส่วนต่างจากราคาหนี้คงเหลือ)

6. การทำธุรกรรมที่กรมที่ดิน ผู้ขายและผู้ซื้อจะต้องเตรียมเงิน สำหรับชำระค่า.ใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ ตามที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ทำสัญญา (จะซื้อ – จะขาย) 

  • ค่าธรรมเนียมการโอน คิดที่อัตรา 2% ของราคาประเมิณราชการ
  • ค่าอากรสแตมป์ คิดร้อยละ 0.5% ของราคาซื้อขาย (แต่ถ้าคุณเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว อันนี้ไม่ต้องเสีย)
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ คิดที่อัตรา 3.3% ของราคาซื้อขาย มีข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียคือ (คุณถือครองทรัพย์สินมาเกิน 5 ปี หรือ คุณมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้น จะเป็นผู้อาศัย หรือเป็นเจ้าบ้านก็ได้ มานานเกิน 1 ปี นับย้อนหลังไปจากวันขาย)

7. ณ วันโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน ธนาคารเจ้าของสินเชื่อเดิม และทางธนาคารของผู้ซื้อจะทำขั้นตอน “ปลอดจำนอง” ก่อน หลังจากนั้นจึงทำเรื่อง “ซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์” ให้กับผู้ซื้อ เมื่อขั้นตอนนี้เรียบร้อยทางธนาคารจะจ่ายเช็คให้กับธนาคารเจ้าของสินเชื่อเดิมและผู้ขาย หลังจากนั้นผู้ซื้อจะได้รับโฉนด ในส่วนนี้ผู้ซื้อจะต้องตรวจสอบรายละเอียดความถูกต้องทั้งหมดของเอกสาร ชื่อ สกุล และ เลขที่โฉนด กรณีผู้ซื้อกู้สินเชื่อไม่ได้เท่าราคาซื้อ ก็จะต้องเตรียมเงินในการจ่ายส่วนต่างในขั้นตอนนี้

เพียงเท่านี้ก็เป็นอันจบพิธีของการขายบ้านที่ยังติดจำยองอยู่ ไม่ยากจนเกินไปใช่ไหมคะ สำหรับยอดในการไถ่ถอนหนี้ ณ วันที่ท่านเช็ค กับวันที่โอนกรรมสิทธิ์ ยอดอาจจะไม่เท่ากันเนื่องจากดอกเบี้ย แนะนำให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ธนาคารเจ้าของสินเชื่อค่ะ



เรียบเรียงบทความ “7 ขั้นตอน ขายบ้านติดจำนอง”

โดย ทีมงาน คลังบ้าน (www.klungbaan.com)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  

Line ID : @klungbaan 

Related posts

USAThailand