• คลังบ้าน.com (สินเชื่อธนาคาร) : รวมข้อมูลการสินเชื่อธนาคารเพื่อที่อยู่อาศัย

Compare Listings

ไขข้อข้องใจเรื่องการ “จำนองบ้านและที่ดิน”

ไขข้อข้องใจเรื่องการ “จำนองบ้านและที่ดิน”

การจำนอง คือ การที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตนเช่นที่ดิน หรือ ทรัพย์สินที่กฏหมายอนุญาตให้จำนองไปจดทะเบียนไว้กับอีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบ ที่ดิน หรือ ทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง

“ปัจจุบันมีผู้รับจำนองค่อนข้างมาก ทั้งจากสถาบันการเงิน และบุคคลธรรมดาทั่วไป” ข้อดีของการนำทรัพย์สินไปจำนองที่ธนาคารก็คือมักจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่า จำนองกับนิติบุคคล แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการมากกว่าเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารมักแตกต่างกันออกไป ปัจจัยขึ้นอยู่กับ ประเภทของทรัพย์สิน มูลค่า ราคาประเมิน และจำนวนเงินที่ผู้จำนองต้องการกู้ยืม

 

 

ขั้นตอนในการขอสินเชื่อหรือการทำธุรกรรมจำนอง

  1. เปรียบเทียบดอกเบี้ย จากสถาบันการเงินทุกแห่ง ว่าที่ไหนท่านสามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากการจำนอง หรืออีกนัยหนึ่งคือ สถาบันการเงินที่ใดสามารถให้วงเงินได้เพียงพอต่อความต้องการของท่าน และดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ที่ท่านพอใจ หรือสามารถไปต่อได้
  2. ยื่นเอกสารให้ทางธนาคารพิจารณา โดยการเตรียมเอกสารดังนี้
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • เอกสารแสดงรายได้ (สลิปเงินเดือน, กรณีเจ้าของกิจการใช้ทะเบียนการค้า)
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง
  • หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (โฉนดที่ดิน)

*สถาบันการเงินบางแห่งอาจต้องการเอกสารสำหรับการพิจารณาสินเชื่อเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี

3. ประเมินราคาหลักประกัน หลังจากธนาคารอนุมัติเบื้องต้น ก็จะส่งทีมประเมินราคาไปประเมินราคาหลักทรัพย์ของท่านว่ามีมูลค่าเท่าไร

4. ธนาคารอนุมัติพร้อมแจ้งวงเงินสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ย สำหรับขั้นตอนนี้ ท่านจะได้ทราบว่าวงเงินที่ท่านต้องการ ทางธนาคารสามารถให้ท่านได้เท่าไร อัตราดอกเบี้ย รวมถึงระยะเวลาในการผ่อนชำระ

5. เซ็นสัญญากับธนาคารและสัญญาจำนอง กรณีทุกอย่างเป็นไปตามที่ท่านต้องการ ทางธนาคารจะทำการนัดวันทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน

ข้อควรรู้

  • นอกจากการพิจารณาหลักทรัพย์แล้ว ธนาคารยังพิจารณาผู้ยื่นขอสินเชื่อด้วย ว่าสามารถผ่อนชำระต่อหนี้สินได้หรือไม่
  • ทรัพย์สินที่นำเข้าจำนอง มีผลต่อวงเงินในการพิจารณาสินเชื่อ เช่น กรณีที่ดินเปล่ารกร้าง ธนาคารมักให้วงเงินเพียง 50% ของราคาประเมิน แต่กรณีเป็นที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้าง อาจได้มากกว่าแล้วแต่เกณฑ์ของธนาคารนั้นๆ
  • ค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดิน จะคิดค่าดำเนินการจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ยืม
  • กรณีไถ่ถอน กรมที่ดินคิดค่าธรรมเนียมโฉนดละ 75 บาท
  • การทำธุรกรรมนี้กับสถาบันการเงินอาจใช้เวลามากถึง 30 วัน

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการยื่นขอจำนองไม่ได้ยุ่งยากอะไร แต่สิ่งที่ยุ่งยากคือการหาสถาบันการเงินที่ให้วงเงินสูงเท่าที่ท่านต้องการ และดอกเบี้ยที่ท่านพอใจ

Related posts

USAThailand